สวัสดีครับ ในนามของคณะผู้จัดทำ ขอสวัสดีทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมและขอขอบคุณที่ท่านกรุณาเลือกเวปไซต์นี้เป็นแหล่งในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ทฤษฏีกราฟเบื้องต้น อีกช่องทางหนึ่ง หากท่านต้องการทราบเนื้อหาใด โปรดคลิกชื่อเนื้อหาที่คลังบทความทางด้านขวามือของท่านในขณะนี้
หากมีข้อผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้จัดทำต้องขออภัยเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย ครับ
ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น(Introduction to graph theory)
วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
การประยุกต์ของกราฟ
บทนิยาม วงจร (circuit) คือแนวเดินที่เส้นเชื่อมทั้งหมด แตกต่างกัน โดยมีจุดเริ่มต้น
และ จุดสุดท้ายเป็นจุดเดียวกัน
บทนิยาม วงจรออยเลอร์ (Euler circuit) คือ วงจรที่ผ่านจุดยอดทุกจุด และ เส้นเชื่อมทุกเส้นของกราฟ
โดยที่จุดสามารถซ้ำกันได้ และจะเรียกกราฟที่มีวงจรออยเลอร์ว่า กราฟออยเลอร์
ทฤษฏีบท 3 กำหนดกราฟ G เป็นกราฟเชื่อมโยง G จะเป็นกราฟออยเลอร์ก็ต่อเมื่อ
จุดยอดทุกจุดของ G เป็นจุดยอดคู่
ตัวอย่าง จงพิจารณาว่ากราฟนี้เป็นกราฟออยเลอร์หรือไม่
บทนิยาม วิถี (path) คือ แนวเดินในกราฟที่จุดยอดทั้งหมด แตกต่างกัน (ไปโดยไม่ย้อนกลับ)
บทนิยาม วิถีที่สั้นที่สุด จากจุดยอด A ถึง Z ในกราฟถ่วงน้ำหนัก คือ วิถี A-Z ที่ ผลรวม
ของค่าน้ำหนักบนเส้นเชื่อมทุกเส้นในวิถี A-Z ที่มีค่าน้อยที่สุด (ไปถึงจุดหมายเร็วที่สุด)
ตัวอย่าง จงหาวิถีที่สั้นที่สุด จาก A ถึง E
ตอบ วิถีที่สั้นที่สุดคือ A,B,D,E ค่าน้ำหนักคือ 2+1+3 = 6 ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด
บทนิยาม วัฏจักร (cycle) คือ วงจร ทีี่ไม่มีจุดยอดซ้ำกัน ยกเว้น จุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย
(จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดเป็นจุดเดียวกัน)
บทนิยาม ต้นไม้ (tree) คือ กราฟเชื่อมโยงที่ไม่มีวัฏจักร
ตัวอย่าง
ข้อสังเกตุ : ต้นไม้ จะไม่มีเส้นขนานและวงวน
จากองค์ความรู้เรื่อง ต้นไม้แผ่ทั่วนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประวันได้หลายแบบ อาทิ
การสร้างโปรแกรมคอมพิมเตอร์ การทำงานของ search engine เป็นต้น
และ จุดสุดท้ายเป็นจุดเดียวกัน
บทนิยาม วงจรออยเลอร์ (Euler circuit) คือ วงจรที่ผ่านจุดยอดทุกจุด และ เส้นเชื่อมทุกเส้นของกราฟ
โดยที่จุดสามารถซ้ำกันได้ และจะเรียกกราฟที่มีวงจรออยเลอร์ว่า กราฟออยเลอร์
ทฤษฏีบท 3 กำหนดกราฟ G เป็นกราฟเชื่อมโยง G จะเป็นกราฟออยเลอร์ก็ต่อเมื่อ
จุดยอดทุกจุดของ G เป็นจุดยอดคู่
ตัวอย่าง จงพิจารณาว่ากราฟนี้เป็นกราฟออยเลอร์หรือไม่
คำตอบคือ ไม่ เพราะจุดยอดทุกจุดในกราฟนี้เป็นจุดยอดคี่
บทนิยาม ค่าน้ำหนัก (weight) ของเส้นเชื่อม e ในกราฟ คือ จำนวนที่ไม่เป็นลบที่กำหนดไว้บนเส้นเชื่อม
บทนิยาม กราฟถ่วงน้ำหนัก ( weighted graph) คือกราฟที่เส้นเชื่อมทุกเส้นมีค่าน้ำหนัก
จากบทนิยาม การกำหนดจำนวนไว้บนเส้นเชื่อมแต่ละเส้น อาจมีจุดมุ่งหมายเพื่อแทนระยะห่างของ
ตำแหน่งต่างๆ หรือเวลาที่ใช้เดินทางบนเส้นทางนั้น จากจุดหนึ่ง ถึง จุดที่ต้องการ
ในชีวิตประจำวัน [ค่าน้ำหนัก = เส้นทาง (ระยะ) , กราฟถ่วงน้ำหนัก = แผนที่]
บทนิยาม วิถี (path) คือ แนวเดินในกราฟที่จุดยอดทั้งหมด แตกต่างกัน (ไปโดยไม่ย้อนกลับ)
บทนิยาม วิถีที่สั้นที่สุด จากจุดยอด A ถึง Z ในกราฟถ่วงน้ำหนัก คือ วิถี A-Z ที่ ผลรวม
ของค่าน้ำหนักบนเส้นเชื่อมทุกเส้นในวิถี A-Z ที่มีค่าน้อยที่สุด (ไปถึงจุดหมายเร็วที่สุด)
ตัวอย่าง จงหาวิถีที่สั้นที่สุด จาก A ถึง E
ตอบ วิถีที่สั้นที่สุดคือ A,B,D,E ค่าน้ำหนักคือ 2+1+3 = 6 ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด
บทนิยาม วัฏจักร (cycle) คือ วงจร ทีี่ไม่มีจุดยอดซ้ำกัน ยกเว้น จุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย
(จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดเป็นจุดเดียวกัน)
บทนิยาม ต้นไม้ (tree) คือ กราฟเชื่อมโยงที่ไม่มีวัฏจักร
ตัวอย่าง
บทนิยาม กราฟย่อย (subgraph) ของกราฟ G คือ กราฟที่ประกอบด้วยจุดยอดและเส้นเชื่อมใน G
กล่าวคือ กราฟ H เป้นกราฟยอยของกราฟ G ก็ต่อเมื่อ V(H) เป็นสับเซต V(G) และ
E(H) เป็นสับเซตของ E(G) (หากไม่มีเส้นเชื่อมก็เป็น subgraph ได้)
ตัวอย่าง
จากกราฟข้างต้นจงพิจารณาว่ากราฟใดเป็น กราฟย่อยของกราฟนี้
บทนิยาม ต้นไม้แผ่ทั่ว (spanning tree) คือ ต้นไม้ ซึ่ง เป็น กราฟย่อยของกราฟเชื่อมโยง
ที่ บรรจุจุดยอดทุกจุดของ G
บทนิยาม ต้นไม้แผ่ท่วที่น้อยที่สุด (minimal spaning tree) คือค่าน้ำหนักที่น้อยที่สุดของต้นไม้แผ่ทั่วนั้น
(ในกรณีต้นไม้แผ่ทั่วในกราฟถ่วงน้ำหนัก)
ตัวอย่าง ต้นไม้แผ่ทั่ว
ต้นไม้แผ่ทั่วของกราฟนี้อาจมีดัีงนี้
ตัวอย่าง ต้นไม้แผ่ทั่วที่น้อยที่สุดจากกราฟนี้
พิจจารณา
ข้อสังเกตุ : ต้นไม้ จะไม่มีเส้นขนานและวงวน
จากองค์ความรู้เรื่อง ต้นไม้แผ่ทั่วนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประวันได้หลายแบบ อาทิ
การสร้างโปรแกรมคอมพิมเตอร์ การทำงานของ search engine เป็นต้น
แนวเดิน
บทนิยาม ให้ U และ V เป็นจุดยอดของกราฟG แนวเดิน U - V ( U-V walk) คือลำดับจำกัดของ
จุดยอด และ เส้นเชื่อมสลับกัน เช่น
U = u0,e1,u1.e2,u2,...,un-1,en,un = V
โดยเริ่มต้นที่จุด U และสิ้นสุดที่จุด V และแต่ละเส้นเชื่อม e1 จะ้เกิดกับจุดยอด ui-1 และ ui
เมื่อ i = {1,2,3,...,n}
ข้อสังเกตุ : ยิ่งกราฟมีความซับซ้อนมากเท่าไร จำนวนเส้นทางแนวเดินก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
จุดยอด และ เส้นเชื่อมสลับกัน เช่น
U = u0,e1,u1.e2,u2,...,un-1,en,un = V
โดยเริ่มต้นที่จุด U และสิ้นสุดที่จุด V และแต่ละเส้นเชื่อม e1 จะ้เกิดกับจุดยอด ui-1 และ ui
เมื่อ i = {1,2,3,...,n}
ข้อสังเกตุ : ยิ่งกราฟมีความซับซ้อนมากเท่าไร จำนวนเส้นทางแนวเดินก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
แนวเดินC→A→D
เขียนเป็นลำดับได้ว่า
C, e1, A, e3,D
หรืออื่น ๆ
บทนิยาม กราฟ G จะเรียกว่า กราฟเชื่อมโยง (connected graph )
ก็ต่อเมื่อ ทุกๆจุดยอด มีแนวเดินทั่วถึงกัน
เป็นกราฟเชื่อมโยง
ไม่เป็นกราฟเชื่อมโยง
ดีกรีของจุดยอด
บทนิยาม ดีกรี (degree) ของจุดยอด V ในกราฟ G คือ จำนวนครั้งทั้งหมดที่เส้นเชื่อมเกิดกับจุดยอด V
ใช้สัญลักษณ์ deg V แทน ดีกรีของจุดยอด V
ตัวอย่าง
จากกราฟข้างต้น จะได้ว่า
deg A = 2
deg B = 3
deg C = 2
deg D = 3 (วงวนเท่ากับ 2 ดีกรี)
deg E = 0 (ไม่มีเส้นเชื่อมมาเกิดกับจุดนี้)
ทฤษฏีบท 1 ผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุกจุดในกราฟเท่ากับสองเท่า ของจำนวนเส้นเชื่อมในกราฟ
บทนิยาม จุดยอดที่มีดีกรีเป็นจำนวนคู่ เรียกว่า จุดยอดคู่ (Even vertex)
จุดยอดที่มีดีกรีเป็นจำนวนคี่ เรียกว่า จุดยอดคี่ (Odd vertex
จุดยอดคี่ คือ จุดB และ C
ทฤษฏีบท 2 กราฟทุกกราฟจะมีจุดยอดคี่เป็นจำนวนคู่เสมอ
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ การจัดการแข่งขันต่างๆแบบพบกันหมด เป็นต้น
ข้อสังเกตุ : เมื่อกราฟใดมีจำนวนจุดยอดคี่เป็นจำนวนคี่แสดงว่า กราฟนั้นไม่มีอยู่จริง
ใช้สัญลักษณ์ deg V แทน ดีกรีของจุดยอด V
ตัวอย่าง
จากกราฟข้างต้น จะได้ว่า
deg A = 2
deg B = 3
deg C = 2
deg D = 3 (วงวนเท่ากับ 2 ดีกรี)
deg E = 0 (ไม่มีเส้นเชื่อมมาเกิดกับจุดนี้)
ทฤษฏีบท 1 ผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุกจุดในกราฟเท่ากับสองเท่า ของจำนวนเส้นเชื่อมในกราฟ
และมีค่าเป็นจำนวนคู่เสมอ เมื่อให้ m เป็นจำนวนเส้นเชื่อมในกราฟ G จะได้ว่า
และจากกราฟข้างต้นจะได้ผลรวมของดีกรีคือ 2+3+2+3+0 = 10 ซึ่งเป็น สองเท่า ของจำนวนเส้นเชื่อมในกราฟ
ความสัมพันธ์ระหว่างดีกรีกับจุดยอดบทนิยาม จุดยอดที่มีดีกรีเป็นจำนวนคู่ เรียกว่า จุดยอดคู่ (Even vertex)
จุดยอดที่มีดีกรีเป็นจำนวนคี่ เรียกว่า จุดยอดคี่ (Odd vertex
ตัวอย่าง
จะได้ว่า จุดยอดคู่ คือ จุดA และ Dจุดยอดคี่ คือ จุดB และ C
ทฤษฏีบท 2 กราฟทุกกราฟจะมีจุดยอดคี่เป็นจำนวนคู่เสมอ
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ การจัดการแข่งขันต่างๆแบบพบกันหมด เป็นต้น
ข้อสังเกตุ : เมื่อกราฟใดมีจำนวนจุดยอดคี่เป็นจำนวนคี่แสดงว่า กราฟนั้นไม่มีอยู่จริง
ลักษณะของเส้นเชื่อม
บทนิยาม เส้นเชื่อมตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไปที่เชื่อมระหว่างจุดยอดคู่เดียวกัน เรียกว่า เส้นเชื่อมขนาน
(parallel edge)
(parallel edge)
ตัวอย่าง เส้นเชื่อมขนาน
บทนิยาม วงวนคือ เส้นเชื่อมที่เชื่อมจุดยอดเพียงจุดเดียว เรียกเส้นนี้ว่า วงวน (Loop)
ตัวอย่าง วงวน
กราฟ graph
บทนิยาม กราฟ G ประกอบด้วยเซตจำกัด 2 เซต คือ
1.เซตที่ไม่เป็นเซตว่างของจุดยอด (vertex ; V(G) )
2.เซตของเส้นเชื่อม (edge ; E(G) ) ที่เช่อมระหว่างจุดยอด
ข้อสังเกตุ : เซตของเส้นเชื่อม อาจเป็นเซตว่างได้
ตัวอย่างของกราฟ
องค์ความรู้เกี่ยวกับกราฟนี้นำไปใช้อย่างหลากหลายในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น การทำแผนที่ หรือ แม้กระทั่งการเชื่อมโยงเวปไซต์ของบราวเซอร์ อันจะกล่าวถึงต่อไป
1.เซตที่ไม่เป็นเซตว่างของจุดยอด (vertex ; V(G) )
2.เซตของเส้นเชื่อม (edge ; E(G) ) ที่เช่อมระหว่างจุดยอด
ข้อสังเกตุ : เซตของเส้นเชื่อม อาจเป็นเซตว่างได้
ตัวอย่างของกราฟ
องค์ความรู้เกี่ยวกับกราฟนี้นำไปใช้อย่างหลากหลายในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น การทำแผนที่ หรือ แม้กระทั่งการเชื่อมโยงเวปไซต์ของบราวเซอร์ อันจะกล่าวถึงต่อไป
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ความเป็นมาของกราฟ
มนุษย์ในอดีตพยายามจะอธิบายถึงสิ่งต่างๆบนโลก จึงได้คิดค้นศาสตร์ต่างๆขึ้นมา โดยคณิตศาสตร์นั้น ว่ากันว่าเป็นศาสตร์ที่บ่งบอกถึงภาษาของธรรมชาติ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นศาสตร์ชนิดแรกที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก ในที่นี่จะขอกล่าวถึงหนึ่งในองค์ความรู้ของคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราเรื่องหนึ่ง นั่นก็คือ ทฤษฏีกราฟเบื้องต้น หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ทฤษฎีกราฟนั้น มีจุดเริ่มจากผลงานตีพิมพ์ของ เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ภายใต้ชื่อ Solutio problematis ad geometriam situs pertinentis ในปี ค.ศ. 1736 (พ.ศ. 2279) หรือที่รู้จักกันในนาม ปัญหาสะพานทั้งเจ็ดแห่งเมืองโคนิกส์เบิร์ก (Seven Bridges of Königsberg) เขาสนใจวิธีที่จะข้ามสะพานทั้ง 7 แห่งนี้ โดยข้ามแต่ละสะพานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ผลงานนี้ยังถือว่าเป็นงานแนวทอพอโลยีชิ้นแรกในเรขาคณิต กล่าวคือเป็นงานที่สนใจเฉพาะโครงสร้างของรูปเรขาคณิตที่ไม่ขึ้นกับขนาด ระยะ หรือการวัดใดๆ งานชิ้นสำคัญนี้ยังได้แสดงความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งระหว่างทฤษฎีกราฟและทอพอโลยี
ในปี ค.ศ. 1845 (พ.ศ. 2388) กุสตาฟ คีร์คฮอฟฟ์ ได้เผยแพร่ผลงานที่รู้จักกันภายใต้ชื่อกฎวงจรไฟฟ้าของคีร์คฮอฟฟ์ ที่แสดงความสัมพันธ์ของกระแสและความต่างศักย์ บนกราฟที่แทนวงจรไฟฟ้า
ต่อมาในปี ค.ศ. 1852 (พ.ศ. 2395) ฟรานซิส กัทธรี ได้ตั้งปัญหาสี่สี (Four color problem) เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะใช้สีเพียง 4 สี เพื่อระบายให้กับประเทศต่าง ๆ บนแผนที่ใด ๆ โดยที่ประเทศเพื่อนบ้านจะไม่มีสีเดียวกัน. ปัญหานี้ได้ถูกแก้ในอีกมากกว่า 100 ปีถัดมา ในปี ค.ศ. 1976 (พ.ศ. 2519) โดย เคนเนธ แอปเพล และวูล์ฟกัง ฮาเคน ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วยในการพิสูจน์ ซึ่งทำให้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง. อย่างไรก็ตามจากความพยายามในการแก้ปัญหา 4 สีนี้ ทำให้มีการสร้างแนวคิดและนิยามพื้นฐานในทฤษฎีกราฟขึ้นอย่างมากมาย จนอาจจะกล่าวได้ว่าจุดเริ่มต้นของทฤษฎีกราฟเกิดจากปัญหาสี่สีนี้เอง
กราฟมักถูกนำเสนอในลักษณะของรูปภาพ โดยใช้จุดแทนจุดยอดแต่ละจุด และลากเส้นระหว่างจุดยอดถ้าจุดยอดทั้งสองนั้นมีเส้นเชื่อมถึงกัน ถ้ากราฟมีทิศทาง ทิศทางของเส้นเชื่อมจะถูกระบุโดยใช้ลูกศร
เราไม่ควรจะสับสนระหว่างกราฟที่วาดออกมากับกราฟ (ที่เป็นโครงสร้างนามธรรม) เนื่องจากกราฟหนึ่ง ๆ สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ และสาระหลักของกราฟนั้นมีแค่ว่าจุดยอดใด เชื่อมต่อกับจุดยอดใด ด้วยเส้นเชื่อมกี่เส้น ไม่ใช่วิธีการที่วาดมันออกมา ในทางปฏิบัติแล้ว การจะตัดสินว่ากราฟที่วาดออกมาสองกราฟนั้น มาจากกราฟเดียวกัน ในบางกรณี การวาดกราฟบางแบบอาจมีความเหมาะสมและทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่าแบบอื่น
linked
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)